วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1.ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตรและพัฒนาการของหลักสูตร

ความหมายของหลักสูตร
         ทาบา (Taba 1962: 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้
          โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 61-62) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ 1) หลักสูตรในลักษณะของศาสตร์สาขาหนึ่ง 2) หลักสูตรในลักษณะของการเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ   
          โอลิวา (Oliva 1992: 8-9) ได้สรุปแนวคิดของหลักสูตรไว้ได้แก่ 1) หลักสูตรคือการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม การพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน 2) หลักสูตรที่อาศัยบริบท สภาพแวดล้อม 3) หลักสูตรคือกลยุทธ เทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
          วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 95) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร (Curriculum) มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า “race-course” หมายถึงเส้นทางที่ใช้ในการแข่งขัน เนื่องจากเป้าหมายของหลักสูตรคือการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตในสังคมได้

          โดยสรุปแล้ว หลักสูตร (Curriculum) หมายถึงศาสตร์ที่ใช้กำหนดทิศทางในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยลักษณะของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 5 ประการดังนี้
1.หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบของเอกสาร สื่ออิเล็คทรอนิคส์หรือมัลติมีเดีย
2.หลักสูตรเป็นโปรแกรมการศึกษา โดยเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา การจัดลำดับมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
3.หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้ จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไปและผลการเรียนรู้
4.หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน มีกิจกรรม ทั้งที่มีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้
5.หลักสูตรแฝง หมายถึงหลักสูตรที่ไม่ได้เป็นรูปแบบหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งที่ผู้เรียนไม่ได้วางแผนหรือคาดหวังไว้

ความสำคัญของหลักสูตร
   ปริ้น (Print, 1993: 110) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิชาชีพครู การศึกษาทางด้านหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษาวิชาชีพครู ดังนั้นครูจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและมีความเข้าใจในกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรได้แก่ สอนอะไร สอนอย่างไร สอนเมื่อไรและอะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการสอน ซึ่ง อนุศักดิ์ สมิตสันต์ (2540) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ดังต่อไปนี้
1.เป็นเอกสารของทางราชการหรือเป็นบัญญัติของรัฐ เพื่อให้บุคคลที่ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการศึกษาไปปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ดังนั้นหลักสูตรจึงเปรียบเสมือนคำสั่ง หรือข้อบังคับของทางราชการชนิดหนึ่งนั่นเอง
2.เป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษาเพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถาบัน การศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่ง ในการที่จะจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาของรัฐให้แก่โรงเรียน    
3.เป็นแผนการดำเนินงานของนักบริหารการศึกษาที่จะต้องอำนวยการ ควบคุม ดูแลกำกับและติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ
4.เป็นแผนการปฏิบัติงาน หรือเครื่องชี้นำทางในการปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะเสนอแนะจุดมุ่งหมาย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน การสอนซึ่งครูควรจะปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
5.เป็นเครื่องมือของรัฐในอันที่จะพัฒนาคนและพัฒนากำลังคนซึ่งจะเป็นตัวสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามแผนและนโยบายของรัฐ
6.เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศชาติใดมีหลักสูตรที่เหมาะสมทันสมัยและมีประสิทธิภาพก็จะทำให้คนในประเทศนั้นมีคุณภาพรู้จักเลือกสรรและใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด สามารถนำพาสังคมและคนในสังคมก้าวไป พร้อมๆ กับกระแส โลกาภิวัตน์ได้อย่างมั่นคงและสันติสุข (อนุศักดิ์ สมิตสันต์, 2540, 39-40)

องค์ประกอบของหลักสูตร
          จากแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ได้แบ่งองค์ประกอบของหลักสูตรเป็น 2 มิติคือ
          1. มิติด้านหลักสูตร
                   1) การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อกำหนดความมุ่งหมายทางการศึกษาของโรงเรียน
                   2) การเสนอแนะประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนด
          2. มิติด้านการสอน
                   1) การจัดระบบหลักสูตร คือการหาวิธีจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
                   2) การประเมินกระบวนการและทบทวนสิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ

ประเภทของหลักสูตร
          จากแนวคิดของปริ้นส์ ลาลวานี (Princess Lalwani 2012. http://www.slideshare.net/PrincessLalwani/curriculum-design-and-models) ได้แบ่งประเภทหลักสูตรออกเป็น 5 ประเภทดังต่อไปนี้                                                                     
          1. หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ (Subject-centered curriculum)
          2. หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered curriculum)
          3. หลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน (Learner-centered curriculum     humanistic)
          4. หลักสูตรแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-centered curriculum)
          5. หลักสูตรตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum development models)
                   1) หลักสูตรกลุ่ม Deductive Model
                   2) หลักสูตรกลุ่ม Inductive Model

พัฒนาการของหลักสูตร
          จาก https://www.l3nr.org/posts/410600 ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการศึกษาไทยช่วยให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นสำคัญเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ในที่นี้ได้เสนอพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ดังนี้

      1) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์เป็นอย่างน้อยในการจัดการศึกษานั้นเพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ เนื้อหาสาระที่จัดในระดับประถมศึกษาตอนต้น มี หมวดใหญ่ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา พลานามัย สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลายเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพีชคณิต ตลอดทั้ง ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น แผนก คือ แผนกทั่วไปวิทยาศาสตร์ และศิลปะ หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2521 เนื่องจากความไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแพ้คัดออกคนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมาก

       2) หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรมให้มีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ เนื้อหาสาระที่เรียนมี กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัยและกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เนื้อหาสาระมี กลุ่ม กลุ่มทักษะในหลักสูตร 2521 เปลี่ยนเป็นกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ และเพิ่มกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาต่อให้สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเนื้อหาสาระที่เรียนประกอบด้วยวิชาบังคับแกนกลาง (ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา) วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม จากการใช้หลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปสู่ส่งคมความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ทันการณ์ ไม่สะท้อนความต้องการของท้องถิ่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนไปใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

          3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทยมีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ โดยแบ่งระดับการศึกษาเป็น ช่วงชั้นและสาระการเรียนรู้มี กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จากการใช้หลักสูตรพบว่ามีความสับสนในผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา หลักสูตรแน่นเกินไป ปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์จึงเปลี่ยนมาใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 


          4) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนส่วนเนื้อหาสาระยังคงใช้ กลุ่มสาระเหมือนหลักสูตร 2544 แต่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดมาให้ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นเพิ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมด้วยสรุปได้ว่าหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนไปเพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น