วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

12-13. การนำหลักสูตรไปใช้

โบแชมป์ (Beauchamp. 1975: 164-169) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุดคือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
          ในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกับนักเรียน ซึ่งคุณสมบัติของครูที่จะสอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นประกอบไปด้วย
          - ความมั่นคงทางอารมณ์
          - เสียง รูปร่างหน้าตา
          - ความน่าเชื่อถือ
          - ความอบอุ่น
          - ความกระตือรือร้น
          ในช่วงปี 1980 และ 1990 เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอนจากแบบพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เป็นแบบการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive Learning Theory) ซึ่งเริ่มต้นการสอนด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอน สะท้อนสิ่งที่ควรรู้

หลักสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ (APEID. 1997: 29)
          1. วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้ โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อม
          2. จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้อย่างสะดวกและรวดเร็ว การหาบุคลากรครูมาสอน
          3. กำหนดวิถีทางและกระบวนการการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน มีการจูงใจครูและติดตามผลปฏิบัติงาน
          วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521: 140-141) ได้สรุปขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายดังนี้
          1. เตรียมวางแผนงาน
          2. เตรียมจัดอบรม
          3. การจัดครูเข้าสอน
          4. การจัดตารางสอน
          5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
          6. การประชาสัมพันธ์
          7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
          8. การจัดโครงการประเมินผล

กลวิธีในการจัดการเรียนการสอน
          โดนัล คลาก (Donald Clark 2004: 4) กล่าวถึงการจะจัดการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จมีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการคือ
          1. ความรู้ (Knowledge) ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ เนื้อหาวิชาสาระในวิชาที่สอน
          2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้สอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น
          3. ทักษะที่เกี่ยวข้อง (Involvement skills) ผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักผู้เรียน เช่น ชื่อ ประวัติ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้สอนเข้าใจผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

การเรียนการสอนตามแบบจำลอง ADDIE
          1. การวิเคราะห์ (A: Analysis) โดยการวิเคราะห์และพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังนี้
          - ความต้องการผู้เรียน
          - กำหนดเนื้อหาทั้งหมดและเป้าหมาย
          - ระบุระบบนิพนธ์และระบบการนำส่งบทเรียน
          - วางแผนขอบเขตทั้งหมด
          - วางแผนกลยุทธ์การประเมินทั้งหมด
          2. การออกแบบ (D: Design) เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการต่างๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
          - เขียนวัตถุประสงค์แต่ละหน่วย
          - ระบุการปฏิสัมพันธ์ของบทเรียน
          - สร้างแบบทดสอบวัดผล
          - ออกแบบหน้าจอและกราฟิก
          - ออกแบบเทมเพลทของบทเรียน
          - เขียนผังงานบทเรียน
          - เขียนบทดำเนินเรื่อง
          - สร้างบทเรียนต้นแบบ
          3. การพัฒนา (D: Development) เป็นขั้นตอนที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบมาดำเนินการจริงเพื่อพัฒนาเป็นบทเรียนตามที่วิเคราะห์ไว้ในขั้นตอนแรก เพื่อพัฒนาบทเรียนต้นแบบที่พร้อมจะนำไปทดลองใช้ในขั้นถัดไป
          4. การทดลองใช้ (I: Implementation) เป็นการนำบทเรียนไปพัฒนาขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายตามวิธีการที่กำหนดไว้
          5. การประเมินผล (E: Evaluation) ประเมินผลบทเรียนและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพบทเรียน

หลักการเบื้องต้นวิธีการสอนที่ได้ผล
          มาร์ซาโนได้เสนอรูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (Dimension of learning) ที่ช่วยให้ครูผู้สอนมีแนวทาง วิธีการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนดังนี้
          มิติที่ 1 เจตคติและการรับรู้ (Attitude and perception) การออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ต้องมีเป้าหมายสร้างเจตคติที่ดีและเชิงบวกต่อการเรียนรู้
          มิติที่ 2 การแสวงหาความรู้และการบูรณาการความรู้ (Acquire and Integrate Knowledge) การออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม จัดระบบข้อมูลได้อย่างมีเป้าหมายและเกิดความจำระยะยาว
          มิติที่ 3 การขยายและปรับแต่งความรู้ (Extend and refine knowledge) การออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้จะต้องทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น เชื่อมโยงกับความคิดที่สูงขึ้น ได้ทำกิจกรรมอย่างจริงจังในการใช้ความคิด ความเป็นเหตุเป็นผล ได้แก่ การเปรียบเทียบ การจำแนกประเภท การคิดเชิงนามธรรม การอุปนัย การนิรนัย การสร้างข้อสนับสนุน การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง การวิเคราะห์มุมมอง เป็นต้น
          มิติที่ 4 การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย (Use knowledge meaningfully) เพื่อให้การเรียนรู้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้เรียนต้องได้ใช้ความรู้ในการปฏิบัติภาระงานที่มีความหมายต่อตนเอง เช่น การตัดสินใจ แก้ปัญหา ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง วิเคราะห์ระบบ เป็นต้น
          มิติที่ 5 จิตนักคิด (Productive habits of mind) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนำความรู้มาคิดต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ๆ ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และจัดระเบียบการคิด)

การสอนโดยตรง (Direct Instruction Methods)
รูปแบบ
          1. ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมจุดประสงค์ของการเรียน การสอน
          2. ผู้สอนเป็นผู้เลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน
          3. ผู้สอนกำหนดอัตราการพัฒนาในการเรียนการสอนในแต่ละตอนได้
ควรนำมาใช้ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้
          1. การเรียนรู้ทักษะ สารสนเทศโดยเฉพาะ
          2. การเรียนการสอนต้องการให้เรียนรู้ทักษะ เช่น เครื่องชั่งสามแขน การใช้ไม้กวาด การแปรงฟัน
          3. คำนึงถึงความปลอดภัย เช่น ความร้อน ความเย็น ของมีคม ยาเสพติด เป็นต้น
          4. ต้องมีแรงจูงใจภายนอก เช่น การสาธิต ตัวอย่างสถานการณ์

ขั้นตอนในการสอนโดยตรง
ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจในภาระงานที่ได้เรียนรู้และรับมอบหมาย มีส่วนร่วมจนเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 2 การนำเสนอข้อมูลใหม่ การถ่ายทอดความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การอธิบาย การถามคำถาม การสาธิต ตำรา แบบฝึกหัด โสตทัศนูปกรณ์
ขั้นที่ 3 การแนะแนวทางการปฏิบัติ การให้ข้อมูลย้อนกลับและประยุกต์ใช้ เป็นการยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอแนะ เช่นการตอบคำถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ

แนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากกรอบทฤษฎี Constructivist ได้กล่าวถึงลักษณะของการเรียนรู้คือ
          - ความรู้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
          - บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้
          - การเรียนรู้ที่มีความหมายและต่อเนื่องกับพื้นฐานเดิมเป็นความรู้ที่คงทน
          - บทบาทสำคัญของครูคืออำนวยการเรียนรู้
          ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองนั้น เป็นการประยุกต์ทฤษฎีดังกล่าวกับการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ เข้าใจในสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ต่างๆนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวันของเรา

ขั้นตอนในการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ขั้น
          1. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง ผู้เรียนมีความคิดดั้งเดิมและมีความจำเป็นต้องเลือกหรือปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
          แนวทางสำหรับขั้นตอนที่ 1
          - สัมภาษณ์ อภิปรายกลุ่ม
          - แบ่งกลุ่ม จำแนกข้อมูล
          - แผนที่ความคิด ผังมโนทัศน์
          - เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
          2. การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่ เป็นการวางแผนแบบร่วมกัน สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้างหรืออภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเรียนรู้ ให้ขอบข่ายสาระสำคัญในการเรียนรู้
          แนวทางสำหรับขั้นตอนที่ 2
          - นักจัดการขั้นสูง
          - การรู้คิด กำกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - เทคนิควิทยาศาสตร์ ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบาย ตัดสินด้วยตนเอง ปรัชญาส่วนบุคคล
          3. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ โดยความรู้นั้นเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เกิดจากการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์และปรับแต่งข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ

          แนวทางสำหรับขั้นตอนที่ 3
          - การเรียนรู้แบบร่วมมือ
          - การทดลอง/การออกแบบและเทคโนโลยี
          - วิธีการแบบบูรณาการ
          - สาขาวิชา (แนวคิดหลัก)

การเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้แบบ John Biggs’ 3-P model
          บิ๊ก (Biggs.1996) ได้เสนอแบบจำลอง 3P ประกอบด้วย Presage-Process-Product
          Presage เป็นการเรียนการสอนโดยทั่วๆ ไป เป็นการประยุกต์การเรียนรู้ในการทำหน้าที่ของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
          Process เป็นการปฏิบัติภาระงาน ภายใต้การรับรู้ในบริบทการสอน แรงจูงใจในการเรียนรู้และการไขว่คว้า ตลอดจนการตัดสินใจปฏิบัติโดยไม่ชักช้า

          Product ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นทั้งความคิดในระดับต่ำและระดับสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น