วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

3-4. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา จิตวิทยา สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรนั้นประกอบด้วยพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ด้านคือ
1.พื้นฐานด้านปรัชญา ซึ่ง กู๊ด (Good. 1959: 395) ได้ให้ความหมายของปรัชญานั้นหมายถึง ศาสตร์หนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่หรือระบบความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจและแปลความหมายข้อเท็จจริงต่างๆอย่างสมบูรณ์แบบ ปรัชญาจะประกอบไปด้วย ตรรกวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรีศาสตร์ อภิปรัชญาและศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ทั้งปวงของมนุษย์ ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา ซึ่งปรัชญาการศึกษาคือแนวความคิด หลักการและกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา
          ลักษณะของปรัชญาการศึกษา
          1) คำจำกัดความของการศึกษา
          2) ความมุ่งหมายของการศึกษา
          3) นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
          4) เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ การบริหารสถานศึกษา
         
          วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554) ได้สรุปสาระสำคัญของปรัชญาการศึกษาไว้ดังนี้
สารัตถนิยม (Essentialism) การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทางสังคม การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ
นิรันดรนิยม (Perenialism) มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล ควบคุมตนเอง การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล ตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
อัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนด แสวงหาสิ่งสำคัญและตัดสินด้วยตนเอง การศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ รู้จักตนเอง
ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม การจัดการเรียนสอนเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
พิพัฒนนิยม (Progressivism) การดำรงชีวิตที่ดี อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำการจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือกระทำ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

          ปรัชญากับเป้าหมายของการศึกษา
          1) เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านความรู้
          - ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการศึกษาความรู้และวัฒนธรรม เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น สาระของบทสวดมนต์ เป็นต้น
          - ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรมและมีเหตุผล เช่น พระเจ้า บทสวดมนต์ เป็นต้น
          2) เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านผู้เรียน
          - ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งในการเรียนและชีวิตประจำวัน
          3) เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านสังคม
          - ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เป็นระบบการศึกษาที่ใช้การศึกษาในการปฏิรูปสังคม

2.พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยาแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้เป็น 4 กลุ่มคือ
          - ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เช่น การวางเงื่อนไข เป็นต้น
          - ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism) เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Piaget เกี่ยวกับช่วงวัยในการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Theory)
          - ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) เน้นการสอนแบบ Praxis ใช้สติปัญญา ความคิด กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่การเรียนการสอนแบบวัวควาย ซึ่งมีแนวคิดว่านักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
          - ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism) 
3. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม คือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคมและแนวคิดของพัฒนาการทางสังคม เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนอยู่ในสังคมแบบใด โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคคือ
          1) ยุคเกษตรกรรม เป็นยุคที่อุดมสมบูรณ์ มีความมั่งคั่ง ในน้ำมีปลา ในนามีขาว
          2) ยุคอุตสาหกรรม เป็นยุคการเรียนรู้แบบแบ่งหน่วยกิต เน้นสาระ เรียนแล้วลืม
          3) ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล เป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีอำนาจมาก
          4) ยุคข้อมูลฐานความรู้ เป็นยุคที่เน้นด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ
          5) ยุคปัญญาประดิษฐ์ มีการใช้ AI และเกี่ยวข้องกับทฤษฎีของการ์ดเนอร์ ในเรื่องของ Naturalism หรือปัญญาธรรมชาติ

การศึกษามาตรฐานสากล
          วิเวียน (Vivien Stewart) ได้ศึกษาและนำเสนอแนวคิดการศึกษามาตรฐานสากลไว้ในหนังสือ A World Class Education: Modernization Curriculum, Instruction, And Assessment สรุปสาระสำคัญดังนี้

วัตถุประสงค์
- มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- แหล่งเรียนรู้ที่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตในสภาพการณ์ที่แตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
- การพึ่งพาทั่วโลก จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเป็นหลัก (เรียนต่อต่างประเทศ TOEIC, IESL)
- การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการเรียนรู้

การพัฒนาความรู้ระดับสากล เป็นการเตรียมให้นักเรียนมีความรู้ดังต่อไปนี้
1. การแข่งขัน (Compete)
2. การติดต่อ (Connect)
3. การร่วมมือ (Cooperate)

สิ่งที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้ระดับสากลได้แก่
1. ความสร้างสรรค์ (Creativity)
2. การคิดระดับสูง (Higher-order thinking) การใช้ความคิด จินตนาการ
3. ทักษะการจัดการด้วยตนเอง (Self management skills) การรู้ตนเองว่าเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ไม่ได้ทำงานโดยลำพัง การจัดการระบบความคิด
4. การพัฒนาความรู้และทักษะระดับสากลสำหรับบริษัทข้ามชาติ (Global Company)
          - การพัฒนาทักษะทางภาษา (Desirable language)
          - การเรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cross 3 cultural skills)

การเตรียมความพร้อมเพื่อความเป็นสากล มีปัจจัยสำคัญ 6 ประการคือ
          1) การกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สนับสนุนในระดับสากล
          2) การคัดเลือกและพัฒนาครูให้เหมาะสมกับนักเรียน
          3) รวบรวมจัดทำหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์ มีความเป็นสากล
          4) เน้นการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารมากกว่าการสอนโดยทั่วไป
          5) ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
          6) การบริหารการศึกษา การศึกษาดูงาน

การวางแผนพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนทุกคน
          มีโอ (Meo, G. 2008) กล่าวไว้ว่า การวางแผนหลักสูตรมุ่งสนับสนุนผู้เรียนให้ได้รับโอกาสการพัฒนาเป็นอย่างสูงในการเรียน และการพัฒนาดังกล่าวผู้เรียนจะมีความสามารถเพียงพอที่จะก้าวหน้าในการเรียนตามหลักสูตร นอกจากนี้ยังได้เสนอแนวคิด การวางแผนสำหรับผู้เรียนทุกคน (Planning for all learners; PAL) นำเสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนทุกคน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเนื้อหาวิชาต่างๆได้อย่างหลากหลาย
          1) กำหนดจุดหมาย ระบุบริบทและมาตรฐาน โดยต้องกำหนดให้เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่คาดหวังให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
2) วิเคราะห์หลักสูตรและกิจกรรมในชั้นเรียน เป็นการทำความเข้าใจในภาพรวมของชั้นเรียนก่อนที่จะ
ทำการออกแบบหลักสูตรต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตร   
          3) การใช้ UDL พัฒนาบทเรียนหรือหน่วยการเรียน
          4) การสอน UDL ด้วยบทเรียนหรือหน่วยการเรียน

แนวคิดในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักคือ
          1) การเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ผู้เรียน เก็บรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์เชิงวิชาการ เป็นต้น
          2) การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล เป็นการช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บข้อมูลมา
          3) การรายงานข้อค้นพบ เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบยืนยันจากแหล่งต่างๆ
          4) การนำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อข้อค้นพบ เช่น วิธีการสอน ข้อเสนอแนะในการเรียนการสอน
          5) สรุปรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น