วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

8-9. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตร ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

        จากคำบรรยายของรองอธิบดี กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2545 ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ สรุปกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้ดังต่อไปนี้
          1. กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ/พันธกิจ เป้าหมาย/จุดหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
          - วิสัยทัศน์ หมายถึง เจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่ออนาคตที่พึงประสงค์ที่จะสามารถสร้างศรัทธาและจุดประกายความคิด ในการสร้างวิสัยทัศน์สถานศึกษาควรมีข้อมูลพร้อมทั้งด้านสังคม วัฒนธรรมและปรัชญา เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่บุคลากรในโรงเรียน ชุมชนได้ร่วมกันสร้างขึ้นจะช่วยกำหนดทิศทางของโรงเรียนสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย
          - ภารกิจ/พันธกิจ หมายถึง การแสดงวิธีดำเนินการที่สถานศึกษาจะจัดทำให้สอดคล้องกับหลักการ         
          - จุดหมายของหลักสูตร เป้าหมาย/จุดหมาย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการจัดการไปตาม หลักสูตรแล้วผู้เรียนจะบังเกิดผลอะไรบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายหลักของหลักสูตรเพียงใด
          - คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามระดับช่วงชั้นในแต่ละกลุ่มวิชาไว้เพื่อเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ผู้เรียนควรจะมี แต่สถานศึกษาอาจกำหนดเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของแต่ละเขตพื้นที่หรือสถานศึกษา

          2. จัดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา
                   2.1 สาระการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชาหน่วยการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ 8 กลุ่ม โดยจัดทำเป็นรายภาค/รายปี
                   2.2 กำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียน
                   2.3 กำหนดเวลาของแต่ละกลุ่มสาระ/ หน่วยการเรียนรู้/ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายภาค/ รายปี

          โครงสร้างเวลาเรียน การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
          การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน
การคิดเลข การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่น บูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่างๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปีดังนี้
          ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลานานเกินช่วงความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ ผู้สอนอาจจะจัดกิจกรรมเสริม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น
          การเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมไปตามความสนใจของผู้เรียน ในช่วงชั้นที่ 1 ผู้สอนควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็กเล็กอย่างลึกซึ้ง สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืน ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ แต่ต้องมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าวด้วย สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ผู้เรียนซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมาแล้ว ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อย ทำให้ผู้เรียนรับผิดชอบไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้ เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้วนำผลงานมาเสนอในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน
            การเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับเป็นการเรียนที่มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน นอกจากสถานศึกษาจะทบทวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องจัดการเรียนแบบบูรณาการเป็นโครงงานมากขึ้น เป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคมนวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่าง ๆ แม้แต่การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของการทำงานได้ ต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้ สถานศึกษาจึงต้องจัดบรรยากาศให้มีสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างแก่สังคม และควรจัดรายวิชาหรือโครงงานที่สนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย
            การเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะรายวิชาหรือโครงงาน

          3. จัดทำสาระของหลักสูตร
                   3.1 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นรายปี/ รายภาค
                   3.2 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปี/ รายภาค
                   3.3 กำหนดเวลาและจำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้เป็นรายปี/ รายภาค
                   3.4 จัดทำคำอธิบายรายวิชา (ชื่อวิชา จำนวนเวลา/ หน่วยกิต ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ)

          4. ออกแบบการเรียนรู้
                   1) การจัดการเรียนการสอน ได้แก่
                   1.1) กำหนดรูปแบบการสอนด้วยวิธีสอนที่หลากหลาย
                   1.2) เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง โดยให้เป็นการเรียนรู้จากแหล่งธรรมชาติ ได้แก่
                   - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                   - การเรียนรู้ร่วมกัน
                   - การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
                   - การเรียนรู้จากรูปแบบการวิจัย
                   - การเรียนรู้แบบบูรณาการ
                   1.3) เน้นการเรียนรู้คู่คุณธรรม
                   - นำกระบวนการจัดการ กระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม กระบวนการคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้
                   - เนื้อหาและกระบวนการต่างๆ ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะ องค์รวม
                   - การบูรณาการเป็นการกำหนดเป้าหมายเรียนรู้ร่วมกัน ยึดผู้เรียน เป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระเดียวกัน / ต่างกลุ่มมาบูรณาการในการ จัดการเรียนการสอน
                   2) สื่อการเรียนรู้ ใช้ทุกประเภทที่มีอยู่ให้สอดคล้องและพัฒนาขึ้นใหม่
                   3) การวัดและประเมินผล เป็นการวัดตามสภาพจริง (สอนอย่างไรวัดอย่างนั้น) สถานศึกษาเป็นผู้ประเมินเองออกแบบเอง โดยใช้ Benchmark ตามมาตรฐานสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ สำหรับ ม.ปลาย (ม.4-6) ต้องออกแบบเป็นหน่วยกิตและต้องกำหนดว่า 1 หน่วยกิต = 40 คาบ
          ส่วนระดับอื่นๆ สามารถกำหนดได้เองและต้องออกแบบไว้ก่อนในขั้นตอนการเขียนหลักสูตร กรณีที่นักเรียนย้ายโรงเรียน ต้องกรอกแบบฟอร์มซึ่งส่วนกลางกำหนดให้เป็นแบบฟอร์มเดียวกัน ประกาศนียบัตรยังคงใช้แบบเดิม
          แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษามี 2 ระดับ คือ ระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย โดยเก็บไว้ที่โรงเรียนเขตพื้นที่และกระทรวงศึกษาธิการ
          สรุปว่า 1) สถานศึกษาจะต้องทำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลของ สถานศึกษา                2) การประเมินผลในระดับต่างๆ
                   - ระดับชั้นเรียน
                   - ระดับสถานศึกษา
                   - ระดับชาติ

          5. ออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                   - กิจกรรมแนะแนว
                   - กิจกรรมนักเรียน

          6. กำหนดรูปแบบ วิธีการ เกณฑ์การตัดสิน เอกสารหลักฐานการศึกษา
                   - เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   - จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จบการศึกษาภาคบังคับ
                   - จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          7. พัฒนาระบบการส่งเสริมและสนับสนุน
                   7.1 กระบวนการแนะแนว
                   7.2 แหล่งการเรียนรู้และห้องสมุด
                   7.3 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
                   - นำไปผสมผสานกับการจัดการเรียนรู้
                   - การวิจัยเพื่อแก้ปัญหา/ เพื่อพัฒนาคุณภาพ
                   7.4 เครือข่ายวิทยาการ

          8. การเรียบเรียงเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สมบูรณ์ โดยมีการเขียนเป็นหลักสูตรเรียงตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้
                   8.1 วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย/จุดหมาย
                   8.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ของนักเรียน)
                   8.3 รายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
                   8.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                   8.5 การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้
                   8.6 การวัดและประเมินผล
                   8.7 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
                   8.8 อื่นๆ
                   (รุจิร์ ภู่สาระ, 2546, หน้า 180-184)

กระบวนการวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตร
          กระบวนการวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
          1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือข้อมูลทางด้านความต้องการความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
          2) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้านคือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้นโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงามเพื่อให้เป็นพลเมืองดี
          3) การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
          4) การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย


ที่มา    https://www.gotoknow.org/posts/498759

          http://e-book.ram.edu/e-book/e/EA634/EA634-2.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น